วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาตร์

วิทยาศาสตร์
   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


1. ดิน หิน และแร่

 ดิน

        ดิน(soil) หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลกเกิดจากการแปลงสภาพหรือสลายตัวของหินแร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุผสมคลุกเคล้ากันตามธรรมชาติรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆเมื่อมีน้ำและอากาศที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพอยู่ได้
ส่วนประกอบของดิน

ดินมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วน ดังนี้ คือ
qt.jpg
1. ส่วนที่เป็นอนินทรีย์สาร ได้แก่ แร่ หิน ทราย เป็นต้น
2. ส่วนที่เป็นน้ำ คือ ความชื้นในดิน
3. ส่วนที่เป็นอากาศ คือ ช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่มีอากาศแทรกอยู่
4. ส่วนที่เป็นอินทรีย์สาร ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ที่สลายตัว มากน้อยแตกต่างกันและสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไส้เดือนและแมลงในดิน เป็นต้น


ชนิดของดิน

จำแนกตามลักษณะของเนื้อดิน มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ดินเหนียว (Clay) คือ ดินที่มีเนื้อละเอียดที่สุด ยืดหยุ่นเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ ปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ พังทลายได้ยาก การอุ้มน้ำดี จับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ค่อนข้างสูงจึงมีธาตุอาหารพืชอยู่มาก
2. ดินทราย (Sand) เป็นดินที่เกาะตัวกันไม่แน่น ระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก อุ้มน้ำได้น้อย พังทลายง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารมีน้อย พืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณดินทรายจึงขาดน้ำและธาตุอาหารได้ง่าย
3. ดินร่วน (Loam) คือ ดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด นุ่มมือ ยืดหยุ่นพอควร ระบายน้ำได้ดีปานกลางมีแร่ธาตุอาหารพืชมากกว่าดินทรายเหมาะสำหรับใช้เพาะปลูก


การกำเนิดของดิน

เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้


qe.jpg


ขั้นที่ 1 การผุพัง สลายตัว (Weathering) เป็นสาเกตุทำให้ชั้นหินแตกเป็นหินก้อนใหญ่ๆ หินชั้นนี้ เมื่อถูกแสงแดดและฝนตกก็จะแตกหักและผุพังเป็นชิ้นเล็กๆต่อไป

ขั้นที่ 2 ขบวนการสร้างดิน (Soil Forming Process) จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการผุพังสลายตัวของหินและ พืชจะเจริญงอกงามตามบริเวณรอยแตกของหิน แมลงเล็กๆ และสัตว์อื่นๆ เข้ามาอาศัยตามบริเวณรอยแตกเมื่อพืชและสัตว์ตายจะสลายตัวไปเป็นฮิวมัส

ขั้นที่ 3 สัตว์เล็กๆ ในดิน จะเคลื่อนที่ไปมาทำให้ฮิวมัสผสมกับเศษหินและแร่กลายเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ เรียกว่า ดินชั้นบน
หน้าตัดดิน

qr.jpg


ปัจจัยต่างๆ ของการกำเนิดดิน ทำให้ได้ดินที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างมาก ดินในภูมิประเทศหนึ่งๆ จะมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เราเรียกภาคตัดตามแนวดิ่งของชั้นดิน เรียกว่า หน้าตัดดิน (Soil Horizon) หน้าตัดดินบอกถึงลักษณะทางธรณีวิทยา และประวัติภูมิอากาศของภูมิประเทศที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้นับพันปี รวมถึงว่ามนุษย์ใช้ดินอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุให้ดินนั้นมีสมบัติเช่นในปัจจุบัน ตลอดจนแนวทางที่ดีที่สุดในการใช้ดิน การปรับปรุงคุณภาพของดิน การปรับปรุงคุณภาพของดินให้เหมาะกับการเพาะปลูกมีหลายวิธี ดังนี้ การใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มแร่ธาตุ จุดประสงค์ของการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มเกลือแร่ให้กับดินเกลือแร่บางชนิดจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นเกลือแร่ของาตุไนโตรเจนฟอสฟอรัสโพแทสเซียมและอื่นๆนอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มสารอินทรีย์ในดินอาจกระทำได้โดยใช้ปุ๋ยพืชสดใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักซึ่งปุ๋ยอินทรีย์เหล่านี้จะช่วยให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำได้ดีอากาศแทรกซึมได้สะดวกและลดอัตราการสูญเสียหน้าดิน การปรับความเป็นกรด - เบสของดิน ปัจจัยที่เพิ่มความเป็นกรด - เบสของดิน ได้แก่ การเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ในดิน การใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด การใส่ปูนขาว โดยทั่วไปเป็นเพราะปริมาณแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมที่เกาะอยู่กับเม็ดดินมากน้อยต่างกัน จึงทำให้ดินแต่ละชนิดมีความเป็นกรด - เบส แตกต่างกันการปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชหมุนเวียนจะเป็นวิธีการที่ทำให้มีการเพิ่มสารอินทรีย์ในดินเพื่อการเพิ่มคุณภาพของดิน





   
 หิน

        หิน (Rocks) คือมวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกตนอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนตเนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทรสิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกายแพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือกเมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน




ประเภทของหิน

นักธรณีวิทยาแบ่งหินออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการเกิด คือ


  • หินอัคนี
  • หินตะกอน
  • หินแปร


วัฏจักรหิน (Rock cycle)

เมื่อหินหนืดร้อนภายในโลก (Magma) และ หินหนืดร้อนบนพื้นผิวโลก (Lava) เย็นตัวลงกลายเป็น หินอัคนี ลมฟ้าอากาศ น้ำ และแสงแดด ทำให้หินผุพังสึกกร่อนเป็นตะกอน ทับถมกันเป็นเวลานานหลายล้านปี แรงดันและปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดการรวมตัวเป็น หินตะกอน หรือ หินชั้น การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและความร้อนจากแมนเทิลข้างล่าง ทำให้เกิดการแปรสภาพเป็น หินแปร กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นวงรอบเรียกว่า วัฏจักรหิน (Rock cycle) อย่างไรก็ตามกระบวนการไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ หินอัคนี หินชั้น และหินแปร การเปลี่ยนแปลงประเภทหินอาจเกิดขึ้นย้อนกลับไปมาได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม

hy.jpg


บทสรุปของวัฏจักรหิน ภาพที่ 12 แสดงให้เห็นถึงวัฏจักรการเกิดหินทั้งสามประเภท ดังนี้ แมกมาในชั้นแมนเทิล แทรกตัวขึ้นสู่เปลือกโลก เนื่องจากมีอุณหภูมิสูง ความหนาแน่นต่ำ แรงดันสูง แมกมาที่ตกผลึกภายในเปลือกโลกกลายเป็นหินอัคนีแทรกซอน (มีผลึกขนาดใหญ่) ส่วนแมกมาที่เย็นตัวบนพื้นผิวกลายเป็นหินอัคนีพุ (มีผลึกขนาดเล็ก) หินทุกชนิดเมื่อผุพัง สึกกร่อน จะถูกพัดพาให้เป็นตะกอน ทับถม และกลายเป็นหินตะกอน หินทุกชนิดเมื่อถูกกดดัน หรือทำให้ร้อน เนื้อแร่จะตกผลึกใหม่ กลายเป็นหินแปร หินทุกชนิดเมื่อหลอมละลาย จะกลายเป็นแมกมา เมื่อมันแทรกตัวขึ้นสู่เปลือกโลก จะเย็นตัวลงกลายเป็นหินอัคนี

yu.jpg


ประโยชน์ของหิน

1. ใช้ในการก่อนสร้างสิ่งต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน เขื่อน ถนน กำแพง
2. ใช้ทำรูปแกะสลักหรืออนุสาวรีย์
3. ใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ครก โม่หิน หินลับมีด
4. ใช้ประดับตกแต่งอาคารสถานที่ต่าง ๆ

หินอัคนี
• หินแกรนิต ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลักทำอนุสาวรีย์ และวัสดุก่อสร้าง
• หินบะซอลต์ ใช้ทำไยหินฉนวนกันความร้อน วัสดุก่อสร้าง
• หินพัมมิช ใช้ทำวัสดุกรอง วัสดุก่อสร้าง และใช้ทำผงขัดพื้น
หินตะกอน
• หินกรวดมน ใช้ทำหินประดับ หินก่อสร้าง
• หินทราย ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลัก หินลับมีด
• หินดินดาน ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ใช้เป็นส่วนประกอบปูนซีเมนต์
• หินปูน ใช้ทำหินประดับ ปูนซีเมนต์ ปูนขาว และอุตสาหกรรมเคมี
หินแปร
• หินไนส์ ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลัก ครกหิน และหินก่อสร้าง
• หินชนวน ใช้ทำกระดานชนวน หินประดับ และกระเบื้องมุงหลังคา
• หินอ่อน ใช้ทำหินประดับ หินแกะสลัก อุตสาหกรรมเคมี
• หินควอต์ไซต์ ใช้ทำหินก่อสร้าง อุตสาหกรรมแก้ว


หินอัคนี คือ หินที่เกิดจากการหลอมเหลวภายในโลก และไหลออกมาตามรอยแยกของเปลือกโลก เมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิด ซึ่งต่อมาเย็นตัวลงกลายเป็นก้อนแข็งเราเรียกว่า “หินอัคนี” ขณะที่หลอมเหลวอยู่ภายใต้เปลือกโลกเรียกว่า “แมกม่า” แต่เมื่อไหลออกมาตามราอยร้าว เรียกว่า “ลาวา”



หินชั้น หรือ หินตะกอน คือหินที่เกิดจากการทับถมของซากพืช ซากสัตวื และตะกอน ต่าง ๆ หรือเกิดจากการสึกร่อนผุพัง ของหินอัคนีหรือหินอื่น ๆ เป็นเวลานาน หรือเกิดจากการที่ตะกอนต่าง ๆ ถูกกระแสน้ำและกระแสลมพัดพามา เมื่อสะสมหรือถูกแรงอัดนาน ๆ เข้า ก็จะประสานตัวกันจนแน่นกลายเป็นหิน บางครั้งยังพบร่องรอยของซากพืชและซากสัตว์โบรานฝังอยู่ ซึ่งเรียกว่าฟอสซิล หรือซากดึกดำบรรพ์ ตัวอย่างหินชั้นหรือหินตะกอนได้แก่ หินศิลาแลง หินทราย หินกรวด หินปูน หินดินดาน



หินแปร คือ หินที่เปลี่ยนแปลงมาจากหินอัคนีหรือหินชั้น เพราะถูกความร้อน ความกดดันภายในโลก และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ทำให้รูปร่างและเนื้อเดิมของหินเปลี่ยนไป เช่น หินชนวน หินอ่อน หินไนส์ ฯลฯ


oi.jpg



การเปลี่ยนแปลงของหิน

กระแสน้ำ หินที่อยู่ตามลำน้ำหรือริมทะเล เมื่อกระแสน้ำพัดผ่าน เกิดแรงปะทะกับหินบ่อย ๆ ทำให้เกิดการผุพัง กร่อน มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น แรงปะทะของกระแสน้ำทำให้เกิดโพรงหิน เมื่อโพรงหินใหญ่มากขึ้นอาจทำให้เกิดการพังทลายของโขดหิน
กระแสลม หินที่มีอยู่ในแนวที่ต้องปะทะกับกระแสลมตลอดเวลา จะเกิดการกร่อนของหินรูปร่างของหินจึงเปลี่ยนไปจากเดิม
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หินเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ถ้าเนื้อหินขยายตัวไม่เท่ากัน จะเกิดการแตกร้าวในบริเวณผิวนอกของหิน บริเวณที่หนาวจัดในทวีปยุโรปอเมริกา น้ำที่อยู่ตามรอยแยกของหิน กลายเป็นน้ำแข็งขยายตัวทำให้หินแตกได้ อุณหภูมิจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หินผุกร่อน
เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี น้ำฝนที่ทำปฏิกิริยากับก๊าซในอากาสบางชนิด เกิดกรด หรือฝนกรด เมื่อตกลงสู่พื้นบริเวณที่เป็นหินจะเกิดปฏิกิริยาเคมีกับหิน ทำให้หินเกิดการผุกร่อนได้ เช่น ถ้าฝนกรดตกลงไปบริเวณภูเขา ฝนกรดจะไหลซึมไปตามก้อนหินถ้าเป็นหินปูน จะทำปฏิกิริยากับกรดทำให้เกิดสารใหม่ เมื่อสารนี้ไหลซึมลงตามเพดานถ้ำ เมื่อน้ำระเหยไปหมดกจะเหลือตะกอนปูน ถ้าตะกอนสะสมอยู่นานไปจะเกิดแขงตัวกลายเป็นหินย้อย


 แร่

        แร่ (Mineral) หมายถึง ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ ( ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต) ที่มีสถานะเป็นของแข็ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมีโครงสร้างภายในที่เป็นผลึก มีสูตรเคมีและสมบัติอื่นๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด ตัวอย่างเช่น แร่เฮไลต์ ( เกลือ) เป็นสารประกอบ (Compound) ซึ่งประกอบด้วยอะตอมของโซเดียมและคลอรีนจำนวนเท่ากัน เกาะตัวกันอยู่ ทั้งนี้ผลึกเกลือขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์หลายล้านโมเลกุล


คุณสมบัติทางกายภาพของแร่


ผลึก ( Crystal) หมายถึง ของแข็งที่มีเนื้อเดียวกัน มีรูปทรงสามมิติ ผิวหน้าแต่ด้านเป็นระนาบ ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดตัวของอะตอมหรือโมเลกุลของธาตุที่ประกอบอยู่ในของแข็งนั้นอย่างมีแบบแผน

แนวแตกเรียบ (Clevage) หมายถึง รอยที่แตกเป็นระนาบเรียบตามโครงสร้างอะตอมในผลึกแร่

แนวแตกประชิด (Fracture) หมายถึง แนวแตกบางๆ ซึ่งปรากฏเป็นแนวขนานบางๆ หลายแนวบนเนื้อแร่ และมิได้อยู่ในระนาบเดียวกับแนวแตกเรียบ

ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) เป็นอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของสสารต่อน้ำหนักของน้ำ ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ

ความแข็ง (Hardness) มาตราความแข็งของแร่ตามระบบสเกลของโมล (Mol’s scale) ประกอบด้วยแร่มาตรฐาน 10 ชนิด เรียงลำดับตั้งแต่แร่ที่ทนทานต่อการขูดขีดน้อยที่สุด ถึงมากที่สุด ตามตาราง

loi.jpg

การจำแนกแร่
สามารถจำแนกออกได้ 4 ประเภท

1. แร่โลหะและแร่อโลหะ เป็นแร่ที่อยู่ในหินทั่วไปแร่โลหะมีออกไซของโลหะ ซึ่งประกอบโลหะ กับออกซิเจน การนำแร่โลหะมาใช้ให้เกิดประโยชน์จะต้องทำการถลุงแร่ให้ได้โลหะบริสุทธิเสียก่อน โลหะที่ยังไม่ผ่านการถลุงเรียกว่า สินแร่ เช่น ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก ทองแดง แมงกานีส พลวง โครเมียมตัวอย่างแร่ที่สำคัญ

2. แร่รัตนาชาติ เป็นแร่อโลหะที่สามารถนำมาเจียระไนหรือขัดมันให้เกิดความสวยงาม มีความเด่นชัด ของสี ความวาว การให้แสงผ่าน การกระทบแสง นิยมนำมาทำเครื่องประดับโดยการขายเป็นกระรัต เช่นไพลิน หยก เพทาย มรกต โกเมน เป็นต้น

3. แร่กัมมันตรังสี เป็นสภาพของนิวเคลียสไม่เสถียร จะมีการปล่อยรังสีออกมาจากอะตอมอยู่ตลอดเวลา จัดเป็นแร่ที่ให้พลังงานที่มหาศาล ปัจจุบันรังสีที่ปลดปล่อยออกจาก แร่กัมมันตรังสี มาใช้ประโยชน์ เช่น การรักษาโรค ผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

4. แร่เชื้อเพลิง เป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน น้ำมันดิบหรือน้ำมันปิโตรเลียม



การอนุรักษ์ทรัพยากรธรณี

ทรัพยากรธรณีทุกชนิดเมื่อนำมาใช้ย่อมหมดไป การสร้างขึ้นใหม่อาจจะต้องใช้เวลานานหรือบางอย่างไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ จำเป็นต้องช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรณีตามแนวทางต่อไปนี้
1. การสำรวจ การสำรวจทรัพยากรธรณีมีประโยชน์ในด้านการลงทุนว่าผลตอบแทนจะคุ้มต่อการลงทุนหรือไม่ เช่น การสำรวจแหล่งแร่ แหล่งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
2. การป้องกัน การป้องกันจะช่วยไม่ให้ทรัพยากรธรรมชิตถูกทำลาย เช่น ป้องกันไม่ให้ดินถูกกร่อนด้วยแรงลมหรือน้ำ
3. การลดอัตราการเสื่อมสูญ โดยการนำทรัพยากรที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น การกลั่นน้ำมัน ในขั้นตอนการกลั้นโดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะได้ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เป็นประโยชน์ เช่น นำมาเป็นพลาสติก ปุ๋ย ใยสังเคราะห์ เป็นต้น
4. การปรับปรุงคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพเพื่อจะได้มีอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้น เช่น การนำเหล็กมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ควรจะหาทางป้องกันการเกิดสนิมเหล็ก โดยการทาสี การเคลือบ เป็นต้น
5. การใช้สิ่งอื่นทดแทน เช่น การใช้อะลูมิเนียม คอนกรีต หรือพลาสติกแทนเหล็ก เป็นต้น นำกลับมาใช้ได้อีกครั้งโดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

แหล่งอ้างอิง:





2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต

     กลุ่มสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรามีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเรียกว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิต
     ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่งเรียกว่า ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

     1. ระบบนิเวศบนบก เช่น
          • ระบบนิเวศป่าไม้
          • ระบบนิเวศทะเลทราย
          • ระบบนิเวศทุ่งหญ้า
          • ระบบนิเวศชายป่า

     2. ระบบนิเวศในน้ำ เช่น
          • ระบบนิเวศน้ำจืด
               - หนองน้ำ
               - แม่น้ำ
          • ระบบนิเวศน้ำเค็ม
               - ทะเล
               - มหาสมุทร

ลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

1. ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน
     ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแบบซิมไบโอซิส เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน โดยไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน เช่น
          - นกเอี้ยงบนหลังควาย โดยนกเอี้ยงช่วยจิกแมลงที่รบกวนบนหลังควาย ในขณะเดียวกันควายก็เป็นแหล่งอาหารของนกเอี้ยง
          - ดอกไม้กับผึ้ง  ผึ้งได้น้ำหวานจากดอกไม้ ดอกไม้ได้รับการขยายพันธุ์โดยผึ้งเป็นผู้ช่วย
          - มดดำกับเพลี้ยอ่อน มดดำดูดน้ำเลี้ยงจากเพลี้ยอ่อน และคาบเพลี้ยอ่อนไปวางตามที่ต่าง ๆ เพลี้ยอ่อนได้แหล่งอาหารใหม่

2. ความสัมพันธ์แบบต้องพึ่งพาอาศัยกัน
     ความสัมพันธ์แบบต้องพึ่งพากัน เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดได้ประโยชน์โดยที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันตลอดชีวิต เช่น
          - ต่อไทรกับลูกไทร ต่อไทรเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ในลูกไทรตลอดชีวิต ส่วนต้นไทรสืบพันธ์ต่อไปได้เพราะต่อไทรทำหน้าที่ผสมเกสร
          - โปรโตซัวในลำไส้ของปลวก ปลวกอาศัยโปรโตซัวลำไส้ของปลวก ปลวกจะอาศัยโปรโตซัวช่วยย่อยเนื้อไม้หรือกระดาษที่ปลวกกินเข้าไป ส่วนโปรโตซัวก็ได้อาหารจากปลวก
          - ไลเคน (รากับสาหร่าย) ไลเคนที่ขึ้นอยู่กับต้นไม้ เป็นชีวิตระหว่างเชื้อรากับสาหร่ายอยู่ร่วมกัน โดยที่สาหร่ายสร้างอาหารได้เองและอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ราจะดูดอาหารที่สาหร่ายอยู่ร่วมกัน โดยที่สาหร่ายสร้างอาหารได้เองและอาศัยความชื้นจากเชื้อรา ราจะดูดอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้น

3. ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัย
     ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัยหรือแบบได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว หมายถึงสิ่งมีชีวิตสองชนิดมาอาศัยอยู่ด้วยกันโดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่เสียประโยชน์อาจจะเรียกการอยู่ร่วมกันแบบนี้ได้ว่า เป็นแบบเกื้อกูล
          - กล้วยไม้ พลูด่าง เฟิร์น กับต้นไม้ใหญ่ ที่อาศัยอยู่เฉพาะบริเวณของเปลือกต้นไม้ ไม่ได้แย่งอาหารภายในลำต้น
          - เหาฉลามกับปลาฉลาม ก็ได้อาศัยอาหารที่ลอยมากับน้ำ ทั้งนี้มิได้แย่งอาหารของปลาฉลาม ปลาฉลามก็ไม่เสียประโยชน์
          - หมาไฮยีนากับสิงโต หมาไฮยีน่าจะคอยกินซากเหยื่อจากที่สิงโตกินอิ่มและทิ้งไว้ ส่วนสิงโตไม่ได้ประโยชน์อะไรจากหมาไฮยีนา

4. ความสัมพันธ์แบบล่าเหยือ
     ความสัมพันธ์แบบล่าเหยือ เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่มีชีวิตทั้ง 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า และอีกฝ่ายเป็นผู้ถูกล่าหรือเป็นเหยือ ผู้ล่า เป็นผู้ได้ประโยชน์ ส่วนผู้ถูกล่าจะเป็นผู้เสียประโยชน์ เช่น
          - หนอนกับใบไม้  หนอนเป็นผู้ล่า ใบไม้เป็นเหยื่อ
          - นกกับหนอน  นกเป็นผู้ล่า หนอนเป็นเหยือ
          - แมวกับหนู  แมวเป็นผู้ล่า หนูเป็นเหยื่อ

5. ความสัมพันธ์แบบพาราสิต
     ความสัมพันธ์แบบพาราสิตเป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น
          - พยาธิกับคน พยาธิเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในตัวสัตว์อื่น เช่น คน สุนัข แมว สุกร โดยพยาธิจะดูดกินเลือดของสัตว์ที่มันอาศัยอยู่ จนทำให้สัตว์นั้นมีสุขภาพทรุดโทรมทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้
          - กาฝากกับต้นไม้ใหญ่ กาฝากบนต้นไม้ใหญ่คอยแย่งอาหารจากต้นไม้ ซึ่งขณะเดียวกันต้นไม้ก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากกาฝากเลย

โซ่อาหารและสายใยอาหาร

     โซ่อาหารเป็นการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยมี

โซ่อาหาร



โซ่อาหารและสายใยอาหาร





แหล่งอ้างอิง:




3. แม่เหล็กไฟฟ้า




ชาวกรีกและโรมันโบราณรู้จักอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า พวกเขาเห็นว่าหินสีดำที่ลึกลับน่าพิศวงชนิดหนึ่งมีแรงที่ทำให้โลหะบางชนิดเข้ามาติดอยู่กับมันได้ พวกเขายังสังเกตเห็นด้วยว่า เมื่อเอาหินชนิดนี้ชิ้นเล็กๆผูกแขวนกับเชือกปลายข้างหนึ่งของมันจะชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ หินดังกล่าวจึงอาจจะเอามาใช้เป็นเข็มทิศสำหรับบอกทิศทางได้



แต่ชาวกรีกและโรมันไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ประหลาดนี้ได้ ที่จริงแล้ว มีผู้คนจำนวนมากที่เชื่อว่า อำนาจของหินสีดำนั้นเกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติบางประการ ในยุคโบราณจึงเกิดตำนานหลายเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจของแม่เหล็ก ตำนานเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับคนเลี้ยงแกะชื่อว่า แม็กเนส ผู้ซึ่งยังคงติดอยู่กับหินบนเขาอิดา ทั้งนี้ ก็เพราะตะปูที่ตอกรองเท้าของเขา ตำนานอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า แม่เหล็ก หรือ แม็กเน็ต ( Magnet) ในภาษาอังกฤษนั้นเป็นคำที่ได้มาจากชื่อสถานที่แห่งหนึ่งในเอเชียน้อย คือ แม็กนีเซีย ( Magnesia) อันเป็นแหล่งที่พบแม่เหล็กเป็นครั้งแรก บางทีเรื่องที่ฟังดูแปลกประหลาดที่สุดคงจะเป็นเรื่องของภูเขาที่เป็นหินแม่เหล็กซึ่งดูดเอาตะปูจากลำเรือที่แล่นเข้ามาใกล้ภูเขาลูกนั้นเกินไป


จนถึงปลายศตวรรษที่ 16 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ วิลเลียม กิลเบิร์ต จึงได้เริ่มศึกษาระบบการทำงานของแม่เหล็ก เขาเสนอแนวคิดสำคัญประการหนึ่ง คือ โลกเองก็เป็นแม่เหล็กขนาดใหญ่ที่มีขั้วแม่เหล็กเหมือนแม่เหล็กธรรมดานี่เอง แนวคิดนี้อธิบายว่าทำไมแม่เหล็กจึงชี้ไปทางทิศเหนือและทิศใต้อยู่เสมอ แม่เหล็กถูกขั้วแม่เหล็กของโลกดึงดูดนั่นเอง

แม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก


แม่เหล็ก คือ สารที่สามารถดูดเหล็กหรือเหนี่ยวนำให้เหล็กหรือสารแม่เหล็กเป็นแม่เหล็กได้ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
        1. แม่เหล็กถาวร (Permanent Magnetic) คือแม่เหล็กที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กตลอดไป เช่น แม่เหล็กที่ใช้ในลำโพง เป็นต้น ซึ่งได้มาจากการนำเอาลวดทองแดงอาบน้ำยาพันรอบแท่งเหล็กกล้าแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปในขดลวด ทำให้เกิดสนานแม่เหล็กไปดูดเหล็กผลักโมเลกุลภายในแท่งเหล็กกล้า ให้มีการเรียงตัวของโมเลกุลอย่างเป็นระเบียบตลอดไป เหล็กกล้าดังกล่าวก็จะคงสภาพเป็นแม่เหล็กถาวรต่อไป

       2. แม่เหล็กไฟฟ้า หรือ แม่เหล็กชั่วคราว (Electro Magnetic) เป็นแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันกับแม่เหล็กถาวร แต่เหล็กที่นำมาใช้เป็นเพียงเหล็กอ่อนธรรมดา เมื่อมีการป้อนกระแส ไฟฟ้าผ่านเข้าไปในขดลวดที่พันอยู่รอบแท่งเหล็กอ่อนนั้น แท่งเหล็กอ่อนก็จะมีสภาพเป็นแม่เหล็กไปทันที แต่เมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไป อำนาจแม่เหล็กก็จะหมดไปด้วย เช่น อุปกรณ์จำพวกรีเลย์ (Relay) โซนินอยด์ (Solenoid) กระดิ่งไฟฟ้า เป็นต้น

คุณสมบัติของแม่เหล็ก


       1. ถ้าแขวนแท่งแม่เหล็กให้เคลื่อนที่อย่างอิสระ เมื่อหยุดนิ่ง แล้วจะชี้ตามแนวทิศเหนือ ทิศใต้ ขั้วที่ชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ(N) ขั้วที่ชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้(S)
       2. ขั้วแม่เหล็กทั้งขั้วเหนือและขั้วใต้จะดูดสารแม่เหล็กเสมอ
       3. ขั้วเหมือนกันเข้าใกล้กันจะเกิดแรงผลักกัน และขั้วต่างกันเมื่อเข้าใกล้กันจะเกิดแรงดูด
       4. อำนาจแรงดึงดูดจะมีมากที่สุดที่บริเวณขั้วทั้งสองแม่เหล็ก
       5. เส้นแรงแม่เหล็กมีทิศทางออกจากขั้วเหนือไปยังขั้วใต้


เส้นแรงแม่เหล็ก




เมื่อนำกระดาษแข็งวางบนแท่งแม่เหล็ก โรยเศษผงเหล็กละเอียดบนกระดาษแล้วค่อยๆ เคาะด้วยนิ้วเบาๆ ผงเหล็กจะเรียงตัวตามเส้น แรงแม่เหล็กจากขั้ว N ไปขั้ว S อย่างสวยงาม ดังรูปด้านบน โดยในที่ที่มีเส้นแรงแม่เหล็ก เราเรียกว่ามี สนามแม่เหล็ก 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น