วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

1. การปฐมพยาบาล







การรักษาความสะอาดร่างกาย และปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1) การรักษาความสะอาดฟัน

        ฟัน  เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร  บางครั้งอาจมีเศษอาหารติดตามซอกฟัน  การแปรงฟันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด  ที่จะช่วยขจัดเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในปาก  ทำให้ฟันสะอาดแข็งแรง
        
        ข้อควรปฏิบัติ
               1. แปรงฟันวันละ  2  ครั้ง
               2. บ้วนปากหลังรัประทานอาหาร
               3. ไปพบทันตแพทย์ทุก  6  เดือน

2) การรักษาความสะอาดมือ

        มือ  เป็นอวัยวะที่ใช้งานอยู่ตลอดเวลา  โอกาสที่มือจะสกปรกจึงมีมากกว่าอวัยวะอื่น  เราจึงควรรักษาความสะอาดมือ  เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในปากและร่างกายของเรา

        ข้อควรปฏิบัติ
               1. ตัดเล็บมือให้สั้นอยู่เสมอ
               2. ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร  และหลังจากเข้าห้องน้ำ
               3. ไม่อม  ดูด  หรือเลียมือ  และไม่ใช้มือที่สกปรกหยิบอาหารเข้าปาก

3) การรักษาความสะอาดเท้า

        เท้า  เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรายืน  เดิน  วิ่ง  และทำกิจกรรมต่างๆ  การดูแลรักษาเท้าให้สะอาดและมีสุขภาพดี  จึงเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะจะทำให้เราปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ

        ข้อควรปฏิบัติ
              ขณะอาบน้ำ  เราต้องไม่ลืมใช้สบู่ฟอกเท้าและตามง่ามเท้าด้วยทุกครั้ง  ไม่เดินลุยน้ำ  หรือเข้าไปบริเวณที่มีของแหลมคม  เพราะอาจเกิดอันตรายได้

4) การรักษาความสะอาดเล็บ

        เล็บ  เป็นส่วนหนึ่งของนิ้วมือ  และนิ้วเท้าช่วยป้องกันปลายนิ้วให้ปลอดภัย

        ข้อควรปฏิบัติ
               เราควรดูแลรักษาเล็บให้สะอาด  ไม่กัดแทะเล็บ  ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นและไม่ตัดเล็บจนลึกถึงเนื้อ  เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อโรคได้


การหายใจที่ถูกวิธี
 
        การหายใจ  เป็นการสูดอากาศบริสุทธิ์เข้าร่างกาย  ทำให้เรารู้สึกสดชื่นกระปรี่กระเปร่า  การหายใจที่ถูกวิธีต้องหายใจทางจมูก  เพราะจมูกมีระบบในการกรองฝุ่นละอองและเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายของเรา

        ข้อควรปฏิบัติ
              1. อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์  และหายใจทางจมูก
              2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง  และควรใช้ผ้าปิดจมูกและปาก


การปฐมพยาบาลบาดแผลขนาดเล็ก

        การปฐมพยาบาล  คือ  การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล

1) การปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก
     1. เอาเศษดินที่ติดอยู่ในแผลออก  แล้วล้างแผลด้วยน้ำสุก  และน้ำสบู่
     2. เช็ดรอบๆ  แผลด้วยแอลกอฮอล์  แล้วทาแผลด้วยทิงเจอร์ใส่แผลสด

2) การปฐมพยาบาลบาดแผลถูกของมีคมบาด
     1. ใช้สำลีเช็ดเลือด  และกดห้ามเลือด
     2. ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดรอบๆ แผล
     3. ใช้สำลีชุบทิงเจอร์ใส่แผลสดทารอบๆ แผล
     4. ใช้ผ้าพันแผล  หรือพลาสเตอร์ปิดแผล

3) การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงกัดต่อย
     1. ใช้ลูกกุญแจที่มีรูกดตรงจุดที่ถูกต่อย  แล้วใช้ที่หนีบคีบเอาเหล็กในออก
     2. กดหรือบีบบาดแผลไล่น้ำพิษออก
     3. ใช้สำลีชุมแอมโมเนียทาบริเวณแผล
     4. สังเกตดูอาการ  ถ้าไม่ดีขึ้นรีบพาไปพบแพทย์

การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

     อุบัติเหตุ  คือ  เหตุการณ์หรืออันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน  การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถช่วยผู้บาดเจ็บได้ในระดับหนึ่ง  แต่ถ้าบาดแผลมีขนาดใหญ่มากต้องรีบขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่  ดังนี้

              1. ไปขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด
              2. ตั้งสติให้ดี  แล้วบอกผู้ใหญ่ว่า  เกิดอะไรขึ้น  ที่ไหน  อย่างไร  ผู้บาดเจ็บมีอาการอย่างไร
              3. ถ้าไม่สามารถขอความช่วยเหลือด้วยตนเองได้  ต้องให้เพื่อนหรือผู้ที่พบเห็นรีบไปแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ


การนอนหลับ

     การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด  เราควรนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง เพราะขณะที่เรานอนหลับร่างกายจะซ่อมแซมส่วนต่างๆที่สึกหลอซึ่งจะช่วยให้เรา มีสุขภาพร่างกายแข้งแรง  และจิตใจแจ่มใสเบิกบาน

       วิธีปฏิบัติตนเพื่อให้นอนหลับสบาย  มีดังนี้
               1. นอนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก  ไม่มีกลิ่นและเสียงรบกวน
               2. นอนกางมุ้ง  หรือมองในห้องที่มีมุ้งลวด  เพื่อป้องกันยุงกัด
               3. นอนในท่าที่สบาย  คือ  นอนหงาย  หรือนอนตะแคง  ไม่ควรนอนคว่ำ
               4. ก่อนเข้านอนควรดื่มนมอุ่นๆ  หรือน้ำสะอาด 1 แก้ว
               5. อาบน้ำ  แปรงฟัน  และสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายก่อนเข้านอน
               6. หมั่นดูแลทำความสะอาดเครื่องนอนอยู่เสมอ  โดยปฏิบัติดังนี้
                         - ผ้าปูที่นอน  ปลอกหมอน  ซักสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
                         - ผ้าคลุมเตียง  ผ้าห่ม  มุ้ง  ซักอย่างน้อยเดือนละครั้ง
                         - หมอน  ที่นอน  ผึ่งแดดอย่างน้อยเดือนละ  2  ครั้ง


การปฐมพยาบาลเมื่อมีเลือดกำเดาออก

     เลือดกำเดาออก  อาจเกิดจากการถูกชกต่อย  หกล้ม  ใช้นิ้วแคะจมูก  แล้วทำให้เส้นเลือดฝอยของเยื่อบุจมูกฉีกขาด
    ถ้าลูกเสือมีเลือดกำเดาไหล  หรือพบกับผู้ที่เลือดกำเดาไหล  ควรรีบให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธีแล้วรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบทันที

        วิธีการปฐมพยาบาล
               1. นั่งนิ่งๆ  ก้มหน้าลงเล็กน้อย  บีบจมูกนาน  10 นาที
               2. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น  หรือน้ำแข็งวางบนหน้าผาก  สันจมูก  หรือใต้ขากรรไกร
               3. ถ้าเลือดกำเดายังไม่หยุดไหล  ให้รีบไปพบแพทย์


การขอความช่วยเหลือ  เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
     อุบัติเหตุ  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย  เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น  เราควรเข้าไปช่วยเหลือ  หรือรีบขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ใหญ่เป็นอันดับแรก  โดยปฏิบัติ  ดังนี้
               1. ระงับอารมณ์ตื่นเต้นตกใจให้ดีก่อน
               2. เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยคำที่สุภาพ  ชัดเจน
               3. บอกสถานที่ที่เกิดเหตุ  และอาการของผู้ป่วย
               4. บอกสิ่งที่ต้องการขอความช่วยเหลือ

        ตัวอย่างคำพูดขอความช่วยเหลือ
-  ครูค่ะ  วีระตกต้นไม้ขาหักที่หลังโรงเรียนค่ะ  หนูว่าอาจารย์ต้องใช้เปลหามเขาไปส่งที่โรงพยาบาล  ครูรีบไปดูเขาก่อนเถอะค่ะ
-  ครูคับ  วิชัยเหยียบตะปูที่หลังแปลงเกษตรครับ  ผมว่าแผลคงลึกมากเพราะเลือดไหลไม่หยุดเลย  ต้องรีบห้ามเลือดก่อน  ครูคงต้องเอาอุปกรณ์ปฐมพยาบาลไปด้วย  รีบไปดูเขาเถอะครับ


การปฐมพยาบาล  เมื่อถูกแมลงกัดต่อย

        แมลงที่อาจทำอันตรายเรานั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด  ได้แก่
               -  แมงป่อง  -  ตะขาบ  -  ต่อ  -  ผึ้ง
        ผู้ที่ถูกแมลงเหล่านี้กัดหรือต่อยจะมีอาการเจ็บปวด  บวม  และคันบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อย  บางคนถ้าพิษมากอาจมีไข้สูง  อาเจียน  และหมดสติไป
        เมื่อพบเห็นคนถูกแมลงเหล่านี้กัดหรือต่อยเราต้องมีสติ  ไม่ตื่นเต้นตกใจเกินไป  แล้วรีบเข้าไปช่วยปฐมพยาบาลทันที
     
        วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกผึ้ง  หรือต่อต่อย
               1. ใช้กุญแจที่มีรู  กดลงไปบริเวณที่ถูกต่อย  เหล็กในจะโผล่ขึ้นมา  แล้วคีบออก
               2. ใช้สำลีชุบแอมโมเนียบริเวณแผล  ถ้ามีเลือดออกให้ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนเช็ดแผล
               3. ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณบาดแผล  หรืออาจใช้ยาแก้ปวดระงับอาการปวด
               4. ถ้าอาการรุนแรง  ควรรีบส่งแพทย์ทันที

        วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงป่องต่อย  หรือตะขาบกัด
               1. ใช้สายยาง  หรือเชือกรัดเหนือบริเวณบาดแผล  เพื่อป้องกันไม่ให้พิษวิ่งเข้าสู่หัวใจ
               2. บีบบริเวณรอบบาดแผล  เพื่อไล่น้ำพิษออกมา  แล้วใช้สำลีชุบแอมโมเนียทาบริเวณบาดแผล
               3. ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณบาดแผล  หรืออาจใช้ยาแก้ปวดระงับอาการปวด
               4. ถ้าอาการรุนแรง  ควรรีบส่งแพทย์ทันที


การปฐมพยาบาล  เมื่อถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
     
        ไฟไหม้  หรือน้ำร้อนลวก  เป็นอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นบ่อย  เราจึงควรระมัดระวัง  เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุนี้ขึ้น

        ผู้ที่ถูกไฟไหม้  หรือน้ำร้อนลวกจะมีอาการ  ดังนี้
               1. มีบาดแผลเป็นรอยไหม้เกรียม  หรือมีหนังและเนื้อพอง
               2. มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณบาดแผล
               3. ผู้ที่มีบาดแผลเป็นบริเวณกว้าง  และบาดแผลเกิดอาการอักเสบ  อาจมีอาการช็อก  ทำให้หมดสติ

        วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกไฟไหม้  หรือน้ำร้อนลวก
               1. ใช้น้ำยาล้างแผล  เช่น  ด่างทับทิมล้างแผลให้สะอาด
               2. ทายาแก้ไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกให้ทั่วบาดแผล
               3. ปิดบาดแผลด้วยผ้ากอซเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
               4. ติดพลาสเตอร์ทับให้เรียบร้อย
**อย่าใช้ยาสีฟันทาแผล  เพราะอาจอักเสบมากขึ้นและแผลจะหายช้า


การจัดทำถุงใส่อุปกรณ์ปัจจุบันพยาบาล
        อุปกรณ์   1. เข็ม  ด้าย
                         2. ผ้า  2  ผืน
                         3. กรรไกร
                         4. เชือก
        
        วิธีทำ
               1. ตัดผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  2  ผืน  ขนาด  30x20  ซม.  นำมาวางประกบกัน  แล้วเย็บริมให้ติดกัน  3  ด้าน  เว้นขอบด้านบนมุมซ้ายไว้  4  ซม.

               2. พับผ้าด้านบนลงมา  1  ซม.

               3. พับทบลงมาอีก  3  ซม.

               4. เย็บตามรอยประ

               5. พลิกกลับถุงผ้าเอาด้านในออกมา

               6. สอดเชือกแล้วผูกให้แน่น

แหล่งอ้างอิง:




2. การเจริญเติบโตและการเจริญของร่างกาย




การเจริญเติบโตของมนุษย์

        พืชและสัตว์มีการเจริญเติบโตตัวเราก็มีการเจริญเติบโต เช่นเดียวกับต้นพืช  เมื่อก่อนเราตัวเล็ก  เดี๋ยวนี้เราตัวโตขึ้น  ที่เราตัวโตขึ้น  เพราะเราได้กินอาหารทุกวัน  อาหารที่เหมาะสม  และช่วยให้เด็กๆ  อย่างพวกเราเจริญเติบโตได้ดีชนิดหนึ่ง  คือ  นม
        การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์จะช่วยให้ร่างกายของเราเจริญเติบโตและแข็ง แรง  สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายของเรามีการเจริญเติบโต  คือ  การมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น
        ความสูงของร่างกายคนเรา  จะเพิ่มขึ้นอย่างพอเหมาะกับน้ำหนักตัวเรา  เด็กผู้หญิงจะมีส่วนสูงเต็มที่เมื่อมีอายุระหว่าง  14 – 15 ปี หลังจากนั้นก็จะสูงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วยเด็กผู้ชายส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นที่เมื่ออายุระหว่าง 17 – 18 ปี หลังจากนั้นส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย

การเจริญเติบโตของร่างกายในวัยต่างๆ 

        ร่างกายคนเรา มีการเจริญเติบโตจากวัยทารกสู่วัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละวัยขนาดของร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป
การเจริญเติบโตทางร่างกายของคนเรา สักเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้


  1. น้ำหนัก
  2. ส่วนสูง
  3. ความยาวของลำตัว
  4. ความยาวของช่วงแขนเมื่อกางเต็มที่ 
  5. ความยาวของเส้นรอบวงศีรษะ
  6. ความยาวของเส้นรอบอก
  7. การขึ้นของฟันแท้


เด็กวัยทารกหรือเด็กวัยแรกเกิด  

       เด็กวัยแรกเกิดจะมีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสามปี จะมีการเจริญเติบโตโดยมีสัดส่วนของศีรษะต่อลำตัวเป็น 1 ต่อ 4

เด็กก่อนวัยเรียน 


       ในวัยนี้จะมีอายุอยู่ในช่วง 3 -6 ปี รูปร่างและสัดส่วนของเด็กจะเปลี่ยนไปจากวัยแรกเกิด ดังนี้
รูปร่างค่อยๆ ยืดตัวออกใบหน้าและศีรษะเล็กลงเมือเทียบกับลำตัว มือและเท้าใหญ่และแข็งแรง อกและไหล่ขยายกว้างขึ้น แต่หน้าท้องแฟบลง

เด็กวัยเรียน



        เด็กในวัยเรียนอายุระหว่าง 6 – 12 ปี จะมีการเจริญเติบโต ดังนี้
น้ำหนักโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 3 กิโลกรัมต่อปี ส่วนสูงเพิ่มประมาณ 4 – 5 เซนติเมตรต่อปี     ฟันน้ำนมจะเริ่มหักเมื่ออายุประมาณ 6 ปี และจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่

เด็กวัยรุ่น



       เด็กวัยรุ่นจะมีอายุอยู่ในช่วงอายุประมาณ 10 ปีขึ้นไป จนถึงอายุประมาณ 20 ปี ระยะวัยรุ่นจัดว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นวัยที่ร่างกายและจิตใจเริ่มเปลี่ยนจากวัยเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จึงจัดว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของชีวิต  ซึ่งถ้าวัยรุ่นไม่ได้รับการแนะนำอย่างถูกต้อง อาจทำให้ประพฤติในสิ่งที่ผิดได้
        เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนี้
     
        เพศชาย จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุประมาณ 15 ปี ร่างกายจะขยายใหญ่ขึ้นมีกล้ามเนื้อขึ้นเป็นมัด แขนขาขาวใหญ่ขึ้น มีหนวดเครา นมแตกพานเสียงห้าว มีขนขึ้น
        เพศหญิง จะมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมืออายุประมาณ 15 ปี หน้าอกจะขยายใหญ่ขึ้น เอวคอด สะโพกพาย ใบหน้าและผิวพรรณเปล่งปลั่งขึ้น มีสิวขึ้นที่ใบหน้าและมีประจำเดือน

การติดตามดูแลการเจริญเติบโตของตนเอง

       การเจริญเติบโตของคนเรา เป็นสิ่งที่บ่งบอกเกี่ยวกับสุภาพของร่างกายของคนคนนั้น เพราะถ้าร่างกายมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมกับวัย ก็จะทำให้คนคนนั้นสามารถพัฒนาจากวัยหนึ่งไปสู่อีกวัยหนึ่งได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักติดตามดูแลและสังเกตการณ์เจริญเติบโตทางร่างกายของ ตนเองอยู่เสมอ

การติดตามดูแลการเจริญเติบโต

1. ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของตนเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2. สำรวจตนเองและจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและนำมาเปรียบเทียบกับเพื่อนในวัยเดี่ยวกัน
3. ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี เป็นประจำทุกๆ ปี
         

       การติดตามดูแลการเจริญเติบโตของตนเอง จะทำให้เราทราบว่าตนเองมีการเจริญเติบโตทางร่างกายเป็นไปตามวัยหรือไม่ และถ้าพบว่าตัวเรามีปัญหาด้านสุขภาพก็จะทำให้สามารถไปปรึกษาแพทย์ได้ตั้งแต่ เบื้องต้น

แหล่งอ้างอิง:



3. จิตวิทยาสุขภาพ

             กันยา สุวรรณ รศ.ดร. อาจารย์ศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย ท่านได้ให้ความหมายของ สุขภาพจิต ว่า หมายถึง ความสมบูรณ์ในด้านจิตใจ จิตใจปกติ เข้มแข็งอารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวกาย และใจ ให้ดุลยภาพกับ สิ่งแวดล้อม และสังคม ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุข

             นิภา นิธยาย น,รศ. ให้ความหมายสุขภาพจิตว่า สุขภาพจิตเป็นผลของการปรับตัว ซึ่งเป็นวิธีการที่คนเราแสดงปฏิกิริยา ตอบโต้ใน การปรับตัวให้เป็นไปตามความต้องการของตัวเอง เพื่อนฝูงหรือสังคม หรือในการเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ตัวเอง ตั้งแต่แรกเกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นเครื่องที่จะกำหนดแบบของ บุคลิกภาพ ซึ่งรวมทั้ง สุขภาพจิต ที่มีคุณภาพของคนเราด้วย

             สุขภาพจิตที่ดี คือ ความสามารถที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยไม่จำเป็นจะต้องปล่อยให้เป็นไปตาม อำนาจของ สิ่งแวดล้อมทุกอย่าง แต่ไม่เอาแต่ใจตัวเองหรือไม่คำนึงถึงผู้อื่น สุขภาพจิต ย่อมมีความเหมือนกันกับ สุขภาพกาย ย่อมมีเวลาเสื่อมบ้าง โทรมบ้างสลับกันไป เป็นธรรมดาผู้ที่มีปกติทาง สุขภาพจิต ที่สมบูรณ์ตลอดเวลานั้นหายาก บางคน ต้องล้มป่วยเป็นโรคนี้บ้าง โรคนั้นบ้าง อันเป็นผลมาจากสุข

ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี 

             ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีจะสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดีทั้งในสถานการณ์ปกติ และไม่ปกติและ สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ 

เกณฑ์ในการพิจารณาผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมีดังต่อไปนี้

ก. ความรู้สึกต่อตัวเอง 

             1. ไม่เกิดอารมณ์ต่าง ๆ รบกวนตนเองมากนัก เช่น โกรธ กลัว กังวล ฯลฯ 
             2. สามารถควบคุมความผิดหวังได้ 
             3. เข้าใจตนเองอย่างถูกต้อง เช่น ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง 
             4. นับถือตนเอง ไม่ยอมให้ผู้อื่นมีอิทธิพลเหนือตนเอง 
             5. สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้โดยรู้สาเหตุแห่งปัญหา

ข. ความรู้สึกต่อผู้อื่น

             1. ให้ความรักแก่คนอื่น และยอมรับพิจารณาความสนใจของคนอื่น 
             2. คบหาสมาคมกับคนอื่น ๆ ได้ 
             3. ไว้วางใจคนอื่น ๆ ไม่หวาดระแวง 
             4. ยอมรับนับถือความแตกต่างหลาย ๆ อย่างที่คนอื่นมี 
             5. ไม่ผลักดันให้ผู้อื่นตามใจตนเอง และไม่ตามใจผู้อื่นตามใจชอบ 
             6. รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ และมีความรับผิดชอบต่อมนุษย์ทั่วไป 

ค. ความสามารถในการดำเนินชีวิต 

             1. สามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตได้เป็นอย่างดี 
             2. มีสิทธิและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง 
             3. รู้จักทำสภาพแวดล้อมให้ดีที่สุด ในกรณีจำเป็นก็ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี 
             4. รู้จักวางแผนดำเนินชีวิต ไม่หวาดกลัวอนาคต 
             5. ยอมรับประสบการณ์ และความคิดใหม่ ๆ 
             6. ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ถ้าทำอะไรก็ทำอย่างเต็มความสามารถ และพึงพอใจต่อการกระทำนั้น 
             7. วางเป้าหมายที่นำมาซึ่งความสำเร็จในชีวิตของตนเองได้ 

ตามหลักจิตวิทยาถือว่าผู้มีสุขภาพจิตดีจะมีลักษณะดังนี้ 

             1.รู้จักเผชิญต่อความจริงของชีวิต ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ 
             2.เป็นผู้มีอิสระ มีเหตุผลอันถูกต้องของตนเอง 
             3.สามารถให้ความรักผู้อื่นโดยทั่ว ๆ ไป 
             4.รู้จักไว้วางใจอย่างมีเหตุผลต่อผู้อื่น และรับฟังข้อวิจารณ์ที่เกี่ยวกับตนเองได้ 
             5.มีการแสดงออกทางอารมณ์พอสมควร รู้จักโกรธ เกลียด และรู้จักยับยั้งความโกรธเกลียดด้วยเหตุผล ไม่ปล่อยอารมณ์รุนแรง 
             6.มีความสามารถที่จะคิดถึงอนาคต โดยรู้จักพิจารณาอย่างรอบคอบ 
             7.รู้จักผ่อนคลายทางใจ ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ 
             8.รู้จักปรับปรุงตนเองให้เข้ากับงานได้ พยายามหาทางก้าวหน้าอยู่เสมอ 
             9.รู้จักเอ็นดูและอดทนต่อเด็ก ไม่รำคาญเสียงหัวเราะ และร้องไห้ของเด็ก 
             10.รู้จักปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องเพศ เข้าใจและไม่มีความผิดปกติทางเพศ 
             11.สามารถศึกษาและสร้างอารมณ์ต่าง ๆ ให้เจริญ เข้าใจและรู้จักควบคุมอารมณ์เพื่อความ เจริญแห่งตนได้

             ผู้มีสุขภาพจิตดีจะต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ผู้มีสุขภาพจิตดีจึงเป็น ผู้ที่ปรับตัวได้ดี เป็นผู้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นได้ดีและสามารถเผชิญกับปัญหา และความจริงแห่งชีวิตได้ดี

             ส่วนผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดีก็คือ ผู้ที่ปรับตัวได้ไม่ดี ( Mal - adjusted person ) จะเป็นบุคคลที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับ ผู้ที่ปรับตัวได้ดี ( Well adjusted person ) นั่นเอง ไม่รู้จักและไม่เข้าใจตนเอง ไม่รู้จักและไม่เข้าใจผู้อื่น ตลอดจนไม่สามารถเผชิญปัญหาและความจริงแห่งชีวิตได้ ทำให้ไม่ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข 

             คนปกติเมื่อตกอยู่ในภาวะหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง จะทำให้เกิดความตึงเครียดเป็นเวลานาน พฤติกรรมอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น มีอารมณ์แปรปรวน มีความคิดสับสน การรับรู้ผิดไปจากปกติ จนทำให้ไม่สามารถ ประกอบกิจกรรม เพื่อดำรงชีวิตที่ปกติได้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดปัญหา สุขภาพจิต ปัญหาจะมีความรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา และระยะเวลาที่ได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจ

             มีปัจจัยมากมายที่ก่อให้เกิดปัญหา สุขภาพจิต เพราะจิตใจของมนุษย์เป็นสิ่งละเอียดอ่อน เกิดความรู้สึกนึกคิดอยู่ตลอดเวลา แล้วแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม พฤติกรรมที่แสดงออกนั้นจะแปรเปลี่ยนไปตามสิ่งเร้าที่มากระทบ ส่งผลให้มี สุขภาพจิต ในรูปแบบต่าง ๆ กัน คืออาจมี สุขภาพจิตดี สุขภาพจิต ไม่ดีหรือเจ็บป่วยเป็นโรคประสาท โรคจิต หรือมีปัญหา สุขภาพจิต เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง: 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น